เรื่องต้องรู้ก่อนเริ่มต้นทำโรงจอดรถ

การสร้างโรงจอดรถ มีข้อกำหนดทางกฏหมายเช่นเดียวกับการต่อเติมที่อยู่อาศัยหรืออาคาร ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร มีทั้งแบบที่ไม่ต้องขออนุญาตและต้องขออนุญาต เพื่อให้โรงจอดรถของเราถูกต้องตามกฎหมายอาคารไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลัง
สำหรับการต่อเติมอาคารแบบที่ไม่ต้องขออนุญาต ได้แก่ การดัดแปลงขนาดพื้นบ้าน และหลังคาบ้านเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน ในทางกลับกันการต่อเติมขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5 ตารางเมตรเป็นการต่อเติมที่จำเป็นต้องขออนุญาตจากราชการ
garagelife_tw013-750x430
นอกจากนั้น การต่อเติมบ้านยังไม่สามารถต่อเติมบ้านจนเต็มมิดทั้งพื้นที่ หรือเต็มปิดทึบด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังได้ เนื่องจากมีกฎหมายเกี่ยวกับระยะร่นและที่เว้นว่างควบคุมอยู่ นั่นคือ จะต้องมีระยะเว้นพื้นที่ว่างระหว่างหน้าตัวบ้านกับเขตที่ดินของตัวเอง ทางกฎหมายยังได้กำหนดระยะห่างระหว่างอาคารหรือแนวเขตที่ดินไว้แตกต่างกันระหว่างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ โดยทาวน์เฮาส์ได้รับการกำหนดให้เว้นพื้นที่ว่างด้านหลังไว้มากกว่า 2 เมตร และด้านหน้า 3 เมตร ส่วนอาคารพาณิขย์ให้เว้นพื้นที่ว่างด้านหลังกว้างมากกว่า 3 เมตรจากแนวเขตที่ดิน
DPP07DE0102152C45_resize
ขณะเดียวกันยังกำหนดระยะผนัง ทั้งด้านผนังเปิดและผนังทึบ ได้แก่ ผนังด้านที่เปิดประตู หน้างต่าง ที่สูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินมากกว่า 2 เมตร ส่วนผนังที่สูงเกิน 9 เมตร ให้ห่างจากเขตที่ดิน 3 เมตร และผนังที่ไม่มีช่องเปิด(ผนังทึบ) ต้องห่างจากเขตที่ดินมากกว่า 0.50 ม. ยกเว้นได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงพื้นต้องพร้อมรับน้ำหนัก
หากต้องการให้โรงจอดรถของเรามีความคงทนแข็งแรง และไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างบ้านเดิม จำเป็นจะต้องทำการสำรวจตรวจสอบพื้นโครงสร้างว่า สามารถรองรับน้ำหนักการก่อสร้างต่อเติมและรถที่จอดในโรงจอดรถได้หรือไม่ โดยเฉพาะการผูกเหล็กฐานราก เพราะน้ำหนักที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดปัญหาพื้นดินทรุด ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังประตูหน้าบ้านตกร่อง หรือทำให้บ้านทรุดแตกร้าวได้
ALL5313-HDR
แม้การสร้างโรงจอดรถจะมีความเสี่ยงทำให้พื้นดินทรุด แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้การทรุดตัวส่งผลกระทบต่อตัวบ้านได้ ด้วยการต่อเติมเสาและหลังคาผ่านโครงสร้างใหม่แยกจากตัวบ้านเดิม หรือถ้าต้องยึดโครงหลังคากับโครงสร้างเดิมให้ทำจุดเชื่อมต่อที่สามารถขยับได้ เพื่อป้องกันการดึงรั้งโครงสร้างเดิมเสียหาย
อย่างไรก็ตาม ในการขออนุญาตต่อเติมบ้านกับเจ้าพนักงาน เจ้าของบ้านก็ต้องมีแบบแปลนที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง และในกรณีการเปลี่ยนแปลงวัสดุ เช่น การเปลี่ยนพื้นจากไม้เป็นกระเบื้อง ก็ต้องให้สถาปนิกหรือวิศวกรก่อสร้างช่วยคำนวณน้ำหนัก เพื่อสรุปว่าการต่อเติมบ้านจะเข้าข่ายต้องขออนุญาตก่อนหรือไม่

Comments are closed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save